DPST Hall of Fame

LINK: https://www.dpstdriveresearch.org/palangpon-kongsaeree

ผมเป็นสมาชิกครอบครัวพสวท. มานานกว่า 3 ทศวรรษ และได้รับเกียรติมีชื่อใน “หอเกียรติยศของโครงการพสวท.”ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งมั่นอย่างยิ่งในการสร้างนักวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทย เพื่อเป็นรากฐานของการศึกษาและการวิจัย เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นหลักให้กับสังคม ผมเชื่อว่ามีอีกหลายท่านที่ทำงานหนักและมากยิ่งกว่าผม และจะได้รับเกียรตินี้ในปีต่อๆ ไป และผมก็ได้เสนอชื่อท่านอื่นแทนชื่อผม ตอนที่ได้รับการติดต่อในตอนแรก

ผมยังจำวันที่ ดช.พลังพล ไปสอบคัดเลือก ข้อสอบสนุกและสร้างสรรค์แบบประหลาด มีรูปกบในบ่อน้ำ แล้วถามว่าอยากถามอะไร และการสัมภาษณ์ที่มีคำถามที่ชวนให้คิดและท้าทาย เหมือนตอบปัญหาเชาว์ต่อเนื่องกัน เมื่อตัดสินใจรับทุน จึงต้องเปลี่ยนโรงเรียนจากใกล้บ้าน มาโรงเรียนสามเสน ที่ใช้เวลาปรับตัวในการเดินทาง แต่ก็ดีที่มีคุณอาคอยส่งและรับ (สมัยก่อนไม่มีโทรศัพท์แต่ก็นัดกันได้ คงเพราะรถไม่ติด ประมาณเวลาได้) ในวันที่โครงการฯ พสวท. ยังตั้งไข่ หลายอย่างไม่ลงตัวนัก แต่ก็สนุกอีกแบบ ได้ลองอะไรใหม่ๆ เป็นเหมือนเด็กเนิร์ดในโรงเรียนที่ต้องเรียนวิทย์/คณิตมากขึ้นและต้องทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในวันที่มีพลังแห่งการเรียนรู้มาก ก็มีเรื่องสนุกๆ ทุกวัน เรียนไม่ยากนักเลยมีกิจกรรมให้ทำเยอะ ทั้ง 3 ปีของการเรียนมัธยมปลาย เรื่องที่สำคัญในชีวิตคือการเข้าค่ายพสวท. ช่วงปิดภาคฤดูร้อน ทั้ง ม.4 และ ม.5 ที่สสวท. ก็ทำให้ได้รู้จักเพื่อนๆ พสวท. ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ผูกพันตลอดมาทั้งชีวิต

การเรียนในมหาวิทยาลัยก็เต็มไปด้วยกิจกรรม และกิจกรรม เพื่อนๆ ที่ศาลายาก็เรียก “ปิงเอสซี” ติดปาก จนถึงเรียนจบปริญญาเอกด้วยทุนการศึกษาจากรัฐบาลผ่านโครงการพสวท. เริ่มทำงานที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ให้โอกาสในการสร้างชีวิตด้วยความเมตตา สั่งสอนจากอาจารย์ผู้ใหญ่ระดับเอกอุมากมายที่คณะวิทย์ มหิดล และอีกหลายสถาบัน ผมระลึกตลอดมาว่าจะต้องตอบแทนบุญคุณแก่แผ่นดินนี้ที่ให้โอกาส (แบบที่พ่อและปู่บอก)

ถึงวันนี้ที่เติบโตมา หลายเรื่องราวเมื่อคิดย้อนกลับไป ทำให้ยิ่งทึ่งและชื่นชม “ผู้ใหญ่” สมัยก่อนที่ผลักดันโครงการดีๆ อย่างโครงการพสวท. (และตอนนั้นเราก็เชื่อว่าดี) หรือการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมพลังให้คนคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน และสร้างผลผลิตเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นฐานให้สังคมไทยในปัจจุบัน ทำให้คิดว่า “เรา” จะสร้างอะไรดีๆ ให้กับสังคมไทยอย่างยั่งยืนได้บ้าง ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง และโอกาสที่มีมากกว่าแต่ก่อนมาก

ผมรู้สึกว่าโชคดี และ “โชค” เป็นส่วนหนึ่งในชึวิต การพาตัวเองไปในโรงเรียนที่มี “ครู” ดี มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ ต้องขอบพระคุณผู้ใหญ่ ขอบคุณเพื่อน พี่ ลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และสถาบันที่สนับสนุน รวมถึงครอบครัวที่อบอุ่น

ผมเชื่อว่าโลกจะยิ่งหมุนเร็ว และโอกาสที่เราจะทำอะไรดีๆ ให้กับสังคมมีอีกมาก

มาร่วมกับสร้างสังคมไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ และสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นต่อๆ ไป

พลังพล 24.6.2563

สวัสดีปีใหม่ 2563

ปี 2563 เป็นปีที่สำคัญที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก้าวเข้าสู่ “60 ปี ที่สอง” อย่างจริงจังด้วยทีมบริหารใหม่ โดยมีผมเป็นคณบดีคนที่ 10 เราจะทำทุกอย่างที่จะพัฒนาและเติบโตอย่างจัง เพื่อเป็นฐานแห่งองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของประชาคม สังคม และมนุษย์ชาติ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม เกิดจากจุดเล็กๆ ที่เริ่มต้น และส่งต่อพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง

สวัสดีปีใหม่ 2020 และขอให้เป็นปีแห่งพลังดีๆ ของทุกๆ ท่านครับ

พลังพล คงเสรี

สารจากคณบดี คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล

สารจากคณบดี คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.พลังพล คงเสรี วันที่ 4 ธันวาคม 2562 ในงาน Meet the TEAM

เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม

กว่า 60 ปี ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างบุคลากรที่เป็นรากฐานในการพัฒนาการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของประเทศ  เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และงานวิจัยระดับนานาชาติ  ด้วยคุณูปการของศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ นักเคมีอินทรีย์ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  ก่อร่างสร้างคณะ ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ สานต่อด้วยลูกศิษย์รุ่นต่อมาที่มีพลัง มีความมุ่งมั่น มี critital mass เพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อวงการวิทยาศาสตร์และการศึกษาของไทยอย่างก้าวกระโดด เป็นพื้นฐานของคนรุ่นต่อมาให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  

ผมเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2531 (มหิดล ศาลายารุ่น 7)  ด้วยทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือทุนโครงการพสวท. รุ่นที่ 2 จากระดับมัธยมปลายศูนย์โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย   ผมเชื่อในวิทยาศาสตร์ และสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์ในทุกสาขา  โดยเลือกเรียนสาขาเคมี และสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยความภาคภูมิใจ โดยในปีที่ 3 และ 4 ของการเรียน ผมใช้เวลาส่วนมากทำวิจัยโดยมีศาสตราจารย์ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  ผมอ่านบทความของอ.สตางค์ และถามอ.ยอด ว่า “คนสมัยก่อนรู้โครงสร้างที่ซับซ้อน ด้วยข้อมูลสเปคโตรสโกปีที่จำกัดได้อย่างไร” คำตอบที่ได้รับคือ “เค้าใช้สมอง”   

ผมเชื่อว่า “คน” ที่มีคุณภาพและศักยภาพสูงมากของคณะวิทยาศาสตร์แห่งนี้ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและเป็นหลักให้กับสังคมด้วยองค์ความรู้  ศาสตราจารย์ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เล่าให้ฟังว่า “คณะวิทย์ ผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง และทุกครั้งเราจะแข็งแกร่งขึ้น”  ผมเชื่อว่าด้วยความร่วมแรง ร่วมใจ การทำงานด้วยความโปร่งใส่ และวัฒนธรรมองค์กรที่ทำงานด้วยความเห็นใจผู้อื่น ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล “อตฺตานํ อุปฺมํ กเร” เราจะใช้ความรู้เพื่อเป็น “สติ” ของประชา จะวิจัยพัฒนาเพื่อเป็น “ปัญญา” ให้สังคม  

ล่วงผ่านมา 60 ปี ถึงเวลาที่บัณฑิตจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะตอบแทนสถาบันที่ให้การศึกษา ผมและทีมงานบริหารทุกคนจะตั้งใจและทุ่มเท พัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้า ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อทำให้วิทยาศาสตร์เป็นศรัทธาของสังคม และผมอยากเห็นสังคมที่มีวิทยาศาสตร์เป็นดีเอนเอ 

เราเดินไปด้วยกันนะครับ

พลังพล คงเสรี 3105024
4 ธันวาคม 2562

คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภารกิจที่ท้าทายในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดลที่ 29/2562 เรื่องการแต่งตั้งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์

“ผมเชื่อในวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องเป็นปัญญาให้กับสังคม”
ในเดือนธันวาคม 2562 ผมจะปฏิบัติงานในตำแหน่งคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงรอบด้านทั้งในระดับโลก ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่าเป็นยุคแห่ง disruption และระดับประเทศที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงอว. อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เราเปลียนระดับโลกไม่ได้ และคงยากสำหรับประเทศ แต่เราตัวเราและปรับองค์กรเพื่อการเติบโตได้ ผมและทีมงานคิดว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย และเราต้องเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และนำไปปฏิบัติใช้ให้เกิดประโยชน์สังคม

การเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย นำมาซึ่งโอกาสใหม่ในการเติบโต

พลังพล คงเสรี
23.8.2562

รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตน์ งานวันโรงเรียนนายร้อยจปร. 2561


นับเป็นพระกรุณาธิคุณ ที่คณะวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในงานนิทรรศการวิชาการ ณ โรงเรียนนายร้อย จปร. วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2561  สมเด็จพระเทพฯ ได้ทอดพระเนตรผลงานวิจัยที่ได้รับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสังคมหลายอย่างของคณะวิทยาศาสตร์  ผมได้ทำงานถวายทูลกระหม่อมในหลายโอกาสหลายโครงการ และครั้งนี้ได้ทูลว่า เราได้นำวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อสังคมได้จริง ไม่ขึ้นหิ้ง ตามที่ทูลกระหม่อมได้ทรงสนับสนุนและสนพระทัยในวิทยาศาสตร์ตลอดมา  ได้ทรงสอบถามทั้งประเด็นสารอันตรายในเครื่องสำอาง และยังถามถึงชุดทดสอบฟอร์มาลีนที่เคยได้ยิน จึงได้ทูลถึงปัญหาและข้อจำกัดของเทคโนโลยีเดิม และมีโอกาสอธิบายถึงเทคโนโลยีใหม่   นับเป็นพระกรุณาธิคุณและเป็นมงคลยิ่ง

“ขอพระองค์ทรงพระเจริญ”  เมื่อพระองค์เสด็จออกจากบูธของส่วนงาน และนึกในใจว่าทุกครั้งที่ได้รับเสด็จก็มักเป็นเรื่องมงคล (ก่อนหน้านี้เคยทูลแบบนี้ และพระองค์ท่านก็ทรงแย้มพระสรวล) 

ในโอกาสนี้คณะวิทยาศาสตร์ฯ ได้ทูลถวายกระเช้าซึ่งมีชุดทดสอบที่เราผลิตขึ้นเพื่อให้ทรงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป  

ขอบคุณสภาอาจารย์ คณะวิทย์ ม.มหิดล

 

สภาอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้กรุณาเชิญไปร่วมทานอาหารกลางวันและแสดงความยินดี สำหรับรางวัลอาจารย์ตัวอย่างของคณะวิทยาศาสตร์ ปี 2561  อ.สุรีย์มาศ เป็นผู้จัดการจองและสั่งอาหาร ที่ T-House สามเสน อาหารอร่อยกว่าที่มื้ออื่นๆ ที่เคยกินที่นี่ 555 (น่าจะหิว) นอกจากเลี้ยงอาหาร เลี้ยงขนมแล้วยังมีผลไม้ติดมือกลับบ้านอีก

ดีใจมากสำหรับรางวัลที่มีเกียรตินี้ และขอขอบพระคุณสภาอาจารย์ สมาชิกสภาทุกๆ ท่าน  รวมถึงท่านผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานของผมทุกๆ คน
14.11.2561

IMG_1312.JPG

อาจารย์ตัวอย่างปี 2561 – MUSC

ปี พ.ศ. 2561 เป็นปีที่ดีในหลายประการ  ผมได้รับการการประกาศเกียรติคุณเป็นอาจารย์ตัวอย่างของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ไม่ทราบว่าภาษาอังกฤษอะไร ขอใช้ MUSC Teacher award แล้วกัน)  ซึ่งผมไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นตัวอย่างเท่าใดนัก ทำในสิ่งที่ควรทำและมีประโยชน์ และบ่อยครั้งก็ทำตามใจ  นับว่าเป็นการยกย่องที่เป็นเกียรติอย่างย่ิง  ต้องขอขอบคุณสภาอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พิจารณามอบรางวัลอันน่าดีใจและน่าภูมิใจนี้ให้ (อีกรางวัลสำหรับอาจารย์/ผศ. คืออ.รพีพรรณ ภาควิชากายวิภาค)

42804508_2245029112397549_7465266047986171904_n.jpg

ปีนี้วิธีการสรรหาจะแตกต่างจากเดิมทั้งหมด  จากการเสนอชื่อผ่านภาควิชา เป็นการเสนอชื่อโดยทั่วไป กระบวนการสรรหาและพิจารณาค่อนข้างมิดชิด แต่ชัดเจน เพราะปีที่ผ่านๆ มาจะเปิดเผยชื่อ candidates ซึ่งทั้งหมดก็เป็นอาจารย์ที่น่าชื่นชม แต่โดยมากก็มีท่านเดียวที่ได้รับเกียรติ ท่านๆ ที่เหลือก็จะเสียใจ หรือรู้สึกว่าไม่ดีพอ ส่วนตัวผมได้แสดงความไม่เห็นด้วยในการสรรหาแบบเดิมที่โปร่งใสและเปิดเผยเกินสมควร  ปีนี้ก็ดูเงียบๆ แต่ให้เกียรติผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นอย่างดีน่าชื่นชม การทำงานอย่างให้เกียรติกัน และดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน

ผมแปลกใจเมื่อได้รับโทรศัพท์ทาบทาม และได้ปฏิเสธด้วยความสุภาพ แต่เมื่อได้รับคำอธิบาย ผมได้รับปากและได้ส่งข้อมูลตามแบบฟอร์ม ซึ่งกรอกแบบจริงใจ ตรงไปตรงมา รวมถึงการสัมภาษณ์กับกรรมการ ซึ่งก็รู้จักกันทั้งสิ้น ผมเหมือนคุยกับเพื่อน ไม่ได้รู้สึกหรือคิดว่าจะต้องถูกสัมภาษณ์เหมือนเด็กๆ ที่อยากได้อะไร  แต่รู้สึกเหมือนมีสื่อมาสัมภาษณ์ และผมมีหน้าที่เล่า (คิดแบบนี้ไม่ดีนัก และควรตอบคำถามบางอย่างให้ฟังดูดี และมีประโยชน์กับผู้ถามกว่านี้)  แม้ว่าผมจะรู้จักกรรมการทุกๆ ท่านที่สัมภาษณ์ พบกันข้างนอก ก็ไม่ได้คุยกันเรื่องเหล่านี้อีก จนกระทั่งได้รับแจ้งก่อนจะผ่านกรรมการคณะฯ เพื่อไม่ให้ผมแปลกใจเกินไป

นับว่าเป็นลาภลอยกับเงินรางวัลจำนวน 50,000 บาท เพราะกำลังอยากเปลี่ยนโทรศัพท์ อยากเปลี่ยนคอม อยากได้กล้องใหม่ ตัดสินใจไม่ได้ สุดท้ายผมจึงได้ทำบันทึกข้อความเรียนหัวหน้าภาควิชาเคมี ว่าขอบริจาคเงินจำนวนนี้ให้แก่ภาคฯ เพื่อให้เป็นรางวัลกับนักศึกษาหรือบุคลากรของภาควิชาที่ผมได้ทำงานอยู่  ผู้ที่ได้ทำกิจกรรมจิตอาสา หรือทำประโยชน์แก่สังคม สมควรได้รับการยกย่องต่อๆ ไป จำนวน  10 ทุนๆ ละ 5,000 บาท ทุนเหล่านี้หมดแล้วค่อยว่ากัน  (ดีใจที่ได้ใช้เงินที่ได้แบบนี้ และมีความรู้สึกดีกว่าเก็บเงินไว้มาก)

ผมเชื่อว่าสิ่งดีๆ ที่ได้มา สมควรที่จะส่งต่อ ขอบพระคุณครู อาจารย์ เพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ รวมถึงหน่วยงานและผู้ใหญ่ใจดีที่ให้ความสนับสนุนในทุกๆ ด้านด้วยจิตคารวะและขอขอบคุณจากใจ

บันทึกไว้ในวันสุดท้ายของเดือนกันยายน 2561

Recruitment for 2018

About-PK-Lab-Recruit-Aug2018.001

 

2018 is an exciting year that we are doing new things.  We are open for new opportunities to explore new chemistry and develop to new products.
ปี 2561 เป็นปีที่ดี ที่เราได้ทำอะไรใหม่ๆ มาก และเราเปิดรับนักศึกษาที่สนใจทำงานวิจัยในสหสาขา ที่สามารถต่อยอดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์และใช้งานได้จริง

ติดต่อ ดร.พลังพล คงเสรี palangpon.kon(at)mahidol.ac.th สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

PERCH-CIC Congress X

Molecular targets of bioactive natural products

การบรรยายในการประชุมใหญ่ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี PERCH-CIC Congress X เป็นการประชุมเคมีที่ดีที่สุดของไทย จัดมาเป็นครั้งที่ 10 งานใหญ่จัดเต็ม มีการบรรยายที่เรียกว่าระดับโลกหลายเรื่อง น่าประทับใจ  จัดที่โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช

Palangpon-PERCH-CIC-X-2018-FINAL-PDF_Page_01
ผมบรรยายในเย็นของวันที่สอง ในห้อง Sustainability-driven creative bioactive natural products ที่วันนี้เป็นเรื่องของการสังเคราะห์ทางเคมีที่อลังการ เพื่อให้ได้โมเลกุลที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ ผมเล่าเกี่ยวกับงานวิจัยพื้นฐาน (จริงๆ) ที่เราถามว่าสารออกฤทธฺ์ที่เราสกัดจากสมุนไพร ทดสอบฤทธิ์และศึกษาโครงสร้าง รวมถึงการสังเคราะห์  ได้โมเลกุลที่น่าสนใจเหล่านี้แล้ว สิ่งต่อไปคือใช้โมเกลกุลเหล่านี้เพื่อใช้ศึกษา ligand-target interaction เข้าใจถึงกลไกการทำงาน และระบบทางขีววิทยาที่ซับซ้อน (ภาพประกอบเป็นสะเดาและสารที่แยกได้จากความร่วมมือจาก อ.สมเดช ม.ขอนแก่น)
Palangpon-PERCH-CIC-X-2018-FINAL-PDF_Page_02.jpg

ผมได้อธิยายว่าเรามีขั้นตอนการศึกษาอย่างไร  ในแต่ละขั้นตอน และสุดท้ายจะตอบคำถามอะไร

Palangpon-PERCH-CIC-X-2018-FINAL-PDF_Page_04.jpg

 

ส่วนใหญ่ของสไลด์โพสต์ไม่ได้   หนึ่งในโมเลกุลที่เราศึกษาคือ sesquiterpene lactone ที่เป็นยารักษาโรคมาลาเรีย  โมเลกุลนี้ได้รับรางวัลโนเบลในปี  2015

Palangpon-PERCH-CIC-X-2018-FINAL-PDF_Page_13.jpg

แม้ว่าจะเล่าในรายละเอียดไม่ได้มาก แต่โดยสรุป เราสามารถโชว์ให้ที่ประชุมเห็นว่า สารออกฤทธิ์เหล่านี้คือ “ขุมทอง” ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อยอดได้มากมาย  แต่งานวิจัยเหล่านี้ ไม่ได้เหมาะกับ Thailand  4.0 เพราะยากที่จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์  แต่ดีต่อใจ

งานวิจัยเหล่านี้ท้าทาย และเราเป็นทีมแรก ที่ทำงานแบบนี้ในประเทศในสภาวะที่ความสนใจและการสนับสนุนงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานมีลดลงอย่างน่ากังวล

ผมเปรียบกับการหาน้องๆ ทีมหมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ว่ามีทั้งอุปสรรคมากมาย เดินทางขึ้นลง ในน้ำ มืดๆ เพื่อหาอะไรบางอย่างที่น่าจะมีอยู่  แล้วก็เจอในที่สุด ความเชื่อและความศรัทธาเป็นเรื่องสำคัญส่วนหนึ่งในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ตอนจบผมบอกว่า “The End is alway the new beginning.”

หวังว่าผมจะทำได้ดี และทำให้งานวิจัยเคมีไทยๆ พอดูได้ในระดับนานาชาติ

พลังพล
5.7.2561
จอมเทียน, ชลบุรี

Palangpon-PERCH-CIC-X-2018-FINAL-PDF_Page_42.jpg

X-ray diffraction at TPS-NSRRC, Hsinchu

เราไปซินจู เพื่อใช้รังสีเอกซ์จากซินโครตรอน TPS/NSRRC เพื่อศึกษาโครงสร้างสามมิติของ โปรตีนที่เป็นเป้าหมายของสารออกฤทธิ์ bioactive  natural products  ความฝันที่เราอยากทำวิจัยในสภาวะที่จำกัดอย่างประเทศไทย ทำงานวิจัยที่ท้าทายทำได้นะครับ

From natural products to chemical biology  เพื่อตอบคำถามว่าสารออกฤทธิ์ทำงานอย่างไรในระดับโมเลกุล  จากการสร้าง molecular probes ของ bioactive natural product (s) เพื่อจับและแยก molecular targets ออกจากโปรตีนอื่นๆ ในเซลล์  แล้ว identified โดย mass spectrometry จากนั้นเราใช้ synthetic gene เพื่อโคลนเข้าสู่เชื้อแบคทีเรีย เพื่อผลิตโปรตีนที่ต้องการ หลังจากทำให้บริสุทธิ์และตกผลึก ก็มาถึงจุดนี้ที่ต้องใช้ synchrotron ในการศึกษา protein x-ray crystallography  หวังว่าจะนำไปสู่โครงสร้างที่เราต้องการเห็น

เราใช้ monochromatic X-ray ที่ 0.976 Angstrom  มีระบบ blu-ice ช่วยปรับตำแหน่งผลึก และเก็บข้อมูล  เรามีเวลาที่ TPS 13C1 beamline  48 ชั่วโมงต่อเนื่อง  ทุกอย่างทำงานได้อย่างราบรื่น มีสมาชิกที่ร่วมงานทั้งหมด 4 คนที่ผลัดกันทำงาน และพักผ่อน ทั้งเก็บข้อมูล ทำการทดลองเพิ่ม แก้ปัญหา process ข้อมูลเกือบตลอดเวลา  ด้วยคอมพิวเตอร์  4 ชุด มี supporting staffs ที่ช่วยเหลือทุกอย่าง รวมถึงอาหารการกิน ทำให้การทำงานไม่แย่เท่าไหร่

จาก TIA ไปซินจู นั่งรถที่จองไว้ (H1) มารอที่สนามบิน พาไปที่พักด้วย (1700 NTD) แล้วมารับ user cards  และเช็คอินที่  guest house ใหม่  พอเริ่มงานก็ไม่ค่อยเห็นเดือนเห็นตะวันมากนัก   แต่พอมีเวลาได้เจอกันสหายเก่า Prof.Chen Chun-jung  ที่พบกันตั้งแต่สมัยมาใช้งาน TPS ครั้งแรกๆ   นั่งกินข้าวและ update ชีวิตกัน ว่าต้องแบ่งเวลากับการออกกำลังกายให้จริงจัง

IMG_9474

หลังจากเสร็จงาน เราขึ้นไปไทเปด้วย Taiwan high speed train ใช้เวลาสักครึ่งชั่วโมงกับระยะทาง 80-90 กิโลเมตร รถไฟวิ่งได้นิ่งๆ ที่ >300 km/h

ได้แวะไปไหว้พระที่วัดหลงซาน  แวะไปชมมิวเซียม แวะ Ximending กินข้าวกิน ซื้อของฝาก กินไอติมชาไข่มุก (เพราะไม่อยากกินไหน่ฉาแล้ว  ก่อนขึ้น airport MRT กลับบ้าน มีปัญหากับ airport security นิดหน่อยที่ถามคำถามกับ dry-liqud shipper dewar แต่ก็พอมีเวลาแวะ duty free ซื้อเครื่องสำอางเล็กน้อย นั่งแท็กซึ่จากสนามบินกลับบ้าน จ่ายค่าแท็กซี่ด้วย QR code สะดวกดี  (ทริปนี้ใช้ local phone ที่ซื้อจากสนามบินราคาถูกและดีกว่าซิมทูฟลาย)

S__24272916

icecream-1